Custom Search

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ตำราทรงคุณค่าของ Animator

ตำราเล่มแรกที่ผมได้รับมาตอนเรียนเกี่ยวการทำภาพเคลื่อนไหว (Animation) เล่มแรก และตั้งแต่ดูมายังหาหนังสือที่สอนการทำภาพเคลื่อนไหวเล่มอื่นๆ ที่ดีใกล้เคียงยังไม่ได้คือ The Animator's Survival Kit ของ Richard Williams เป็นหนังสือที่ดีมาก และทรงคุณค่ามาก เพราะนักแต่งเป็นคนทำการ์ตูนยุคแรกๆ

โดยหนังสือ The Animator's Survival Kit พูดถึงหลักการทำภาพเคลื่อนไหวแบบดังเดิม โดยใช้การวาดแบบ ภาพต่อภาพ ซึงเป็นต้นแบบของโปรแกรมที่เราใช้กันอย่างสุขสบายทุกวันนี้ บางอย่างก็อาจทำได้โดยโปรแกรมทันที ไม่ต้องวาดเอง เหมือนสมัยก่อน แต่ที่สำคัญ คือหลักการทั้งหลายของการทำภาพเคลื่อนไหวนั้นได้อธิบายไว้ในเล่มนี้หมดแล้ว ถึงยังไม่แตกออกมาเป็นหัวข้อๆ ให้ก็ตาม

ดังนั้นตำราเล่มนี้คนสนใจทำงาน Animation จริงๆ ควรมีเก็บไว้สักเล่มนะครับ ร้านหนังสือต่างประเทศใหญ่ในไทยก็ยังมีขายอยู่หรือตามห้องสมุดมหาวิทยาลัย ก็มีบ้าง อยากให้ลองอ่านดู เป้นจุดเริ่มต้นของการทำ Animation เพื่อให้ทราบหลักการ
Animators-Survival-Kit-Richard-Williams

เริ่มต้นใช้งาน V-ray

การประมวลผลภาพ (Rendering) นั้นเปรียบคือการนำ วัตถุ พื้นผิว แสง มุมกล้อง มาคำนวณเพื่อให้ได้ภาพที่สมจริงจากการที่เราตั้งค่าไว้ในโปรแกรม 3d ของเรา โดย V-ray เป็นโปรแกรมเสริม(plug in) ของโปรแกรมหลายตัว เช่น 3ds maya เป็นต้น โดยจะมีสิ่งที่มากับโปรแกรมนอกเหนือจากตัวประมวล เช่น material แสง เป็นต้น เพื่อให้ V-ray นั้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

โดย เราเริ่มใช้งานการประมวลผลของวีเรย์ได้ดังนี้

1. สำหรับ max2009
Rendering > Render setup

1.1 สำหรับ max ต่ำกว่า 2009

Rendering > Render

โดยจะมาโผล่ที่หน้าจอ



ลงมาข้างล่างที่ Assign renderer แล้วกด Procuction จะโปรแกรมเรนเดอร์มีให้เลือก


หาคำว่า V-ray ถ้าไม่มีแสดงว่ายังไม่ลงนะครับ


เมื่อเลือกแล้วหน้าจอ Render setup จะเปลียนไปเป้นแบบนี้


เมื่อโปรแกรมRender setup เปลียนเป็ฯแถวเดียวแล้วหมายถึงการเรียกใช้โปรแกรม V-ray นั้นได้สำเร็จ เตรียมพร้อมการใช้แล้ว

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัดพื้นฐานสำหรับ Animator

หลังจากทิ้งการทำภาพเคลื่อนไหวมานานมาก หรือต้องมาหัดเริ่มกันใหม่ โดยผมก็กลับไปพื้นฐานการฝึกใช้ ลูกบอลอีกครั้ง

โดยอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่า การทำภาพเคลื่อนไหว animation นั้น ต้องฝึกเรื่อง เวลา (Timing) และช่วง (Spaceing)

ซึ่งผมก็ได้ฝึกแบบฝึกหัดพื้นฐาน คือการใช้ ลูกบอลตกให้เด้งขึ้นแบบปกติ

แบบที่ 1 ก็ ลูกบอลตกแบบพื้นฐานง่ายๆ


แบบที่ 2 ลูกบอลตกเหมือนกัน แต่ มีน้ำหนึกของวัตถุด้วย


ส่วนแบบฝึกหัดอื่นๆ ที่ลอง

อันนี้ก็เป็นการฝึกบังคับวัถตุ เห็นมาจาก Animation Mentor สุดยอดโรงเรียนสอนAnimation ใครมีเงินเรียน เรียนเสร็จมาสอนผมด้วยนะครับ animationmentor

ก็ฝึกเรื่องของวัถตุ ในเรื่องของ เวลาและช่วงภาพ
โดยเค้าใช้การแกว่งของวัตถุเป็นแบบฝึกหัด ผมเลยลองฝึกดูบ้าง

อันนี้ผมลองเพิ่มเรื่องลูกบอลลงไปด้วย ให้มันมีเนื้อเรื่องขึ้นมานิดนึงและได้ ฝึกทั้งการแกว่งและการเด้ง พร้อมกันด้วย


ในการฝึกจากโปรแกรม 3d ทั้งไป มันจะมีปัญหาบ้างการทำงาน ต้องใช้ กราฟมาประกอบควบคุมการทำงาน

แต่ถ้าใครขยันจริง ก็แนะนำให้ทำแบบ Frame by Frame นั้นครับ รับรอง บรรลุเรื่อง Animation แน่นอน