Custom Search

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

Animation ขั้นพื้นฐาน

ว่าด้วย Animation หรือการทำภาพเคลื่อนไหว เป็นศาสตร์อีกประเภท ที่ต้องเข้าใจและใช้กันอย่างมาในงานกราฟฟิกอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าเป็น ภาพยนต์ เกม เวบ สื่อการสอนทั้งหลาย

โดยพื้นฐานการฝึกAnimation เริ่มที่ การทำลูกบอลกระเด้ง



หลักการทำAnimation นั้น
จะใช้องค์ประกอบอยู่ 2 อย่าง ที่ต้องคำนึงถึง

1. Timeing คือ ช่วงเวลาที่ต้องคิดถึง ว่า การทำAnimation ใช้เวลาเพียงใด หรือ ใช้จำนวนภาพกี่ภาพ ให้ได้ภาพในเวลาที่ต้องการ
มาตรฐานโดยทั่วไป มีการกำหนดเวลาำจำนวนภาพต่อวินาทีหรือ Frame rate (Frame pre Second,FpS)ดังนี้
1. 24
2. 25
3. 30


2. Spaceing คือ ช่องว่างระหว่าง ภาพ ต่อ ภาพ ช่วงช่องว่างนี้กำหนดความเร็วของAnimation ด้วย
ถ้าช่องว่าง มีเนื้อที่กว้าง Animationนั้น เคลื่อนไหวเร็ว
ถ้าช่องว่าง มีเนื้อที่แคบ Animationนั้น เคลื่อนไหวช้า

ในการทำบอลกระเด้งนั้น เป็นการฝึกให้ใช้ หลักการ Timeing , Spaceing อย่างชัดเจน

โดยลักษณะการเคลื่อนไหวของลูกบอลกระเด้ง
1. เริ่มจากการที่ลูกบอลตกจากที่สูงลงมากระแทกพื้น
2. เมื่อกระแทกพื้นแล้วก็ให้กระเด้งขึ้นมาจนถึงจุดสูงสุด แล้วโดนดูดลงมาสู่พื้นอีกที
3. ทำจนหมดแรงกระแทกของแรงดึดดูด

โดยจะสังเกตุได้จากแรงดึดดูดนั้น จะดึงวัตถุให้ตกลงสู่พื้น และเกิดแรงกระแทก โดยวัตถุใช้แรงกระแทกที่เกิดดันกลับขึ้นไปสู่อากาศอีกครั้ง และก็ตกสู่พื้น โดยเกิดเป็นรอบอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั้งแรงตกไม่ก่อให้เกิดแรงกระแทกอีกครั้ง

เราลองมาวิเคราะห์กันดีกว่า ว่าการเคลื่อนไหว เป็นอย่างไร

การ ประมาณเวลาหรือจำนวนภาพที่ใช้ ก็ ประมาณ 6-8 ภาพก่อน ในช่วงแรกคือลูกบอลที่ต้องลงสู่พื้น
โดยแรงที่แรงที่สุดคือ ครั้งแรกที่ลูกบอลตกลงสู่พื้น ดังนั้น ช่วงแรกนั้น ให้ใช้ ที่ว่าง (Spaceing) ให้มีความห่างมากกว่า ช่วงอืื่นๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น